กข-41

ชื่อพันธุ์
-
กข41 (RD41)
ชนิด
-
เป็นข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์
-
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 และสุพรรณบุรี 60   นำไปผสมพันธุ์กับ RP217-635-8 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539  ปลูกชั่วอายุที่ 1 ในฤดูนาปี 2540  และปลูกคัดเลือกชั่วอายุที่ 2 และ 3 จนได้เมล็ดชั่วอายุที่ 4 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท  จากนั้นนำไปปลูกชั่วอายุที่ 5 – 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 จนได้สายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543  และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และสถานีทดลองข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550  นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ที่นาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก  ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกรตั้งแต่ฤดูนาปี 2547 – 2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิตในฤดูนาปี 2550   ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร  สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง  คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์


การรับรองพันธุ์
-
กรมการข้าว  มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ  กข41 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่  17  กันยายน  2552
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ กข41 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน  ความสูงประมาณ 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง คอรวงโผล่พ้นจากกาบใบธงเล็กน้อย ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ความยาวรวงเฉลี่ย 29.0 เซนติเมตร      รวงค่อนข้างแน่น น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 28.8 กรัม ข้าวเปลือกมีสีฟาง ยาว 10.40 มิลลิเมตร กว้าง 2.53 มิลลิเมตร หนา 2.05 มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้องรูปร่างเรียวยาว 7.73 มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร ปริมาณ อมิโลสสูง (27.15%) อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ มีคุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูงถึง 46.6 เปอร์เซ็นต์  ระยะพักตัว  9-10 สัปดาห์
ผลผลิต
- เฉลี่ย 722 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
1.  ผลผลิตสูง  มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 722 กก./ไร่         สูงกว่าสุพรรณบุรี 1  (645 กก./ไร่)  และชัยนาท 1 (640 กก./ไร่)  คิดเป็นร้อยละ 12  และ 13 ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างจากพิษณุโลก 2 (719 กก./ไร่)
2.  ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้
3.  คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว  ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี  สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้
ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง  ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง  อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม และ ปทุมธานี  การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน พฤศจิกายน  จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ
พื้นที่แนะนำ
- เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง  สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ข้อควรระวัง
- อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง  ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง  อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐมและปทุมธานี       การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน พฤศจิกายน  จะกระทบอากาศเย็นทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ

                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น